เมนู

บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า คู้เข้าไว้.
ข้อว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย มีความว่า ตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง
คือให้กระดูกสันหลัง 18 ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั่งด้วย
อาการอย่างนั้นแล้ว หนัง เนื้อ และเส้นเอ็น ย่อมไม่หงิกงอ. เวลานั้น
เวทนาทั้งหลายที่จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอในขณะ ๆ เพราะความหงิกงอแห่งหนัง
เนื้อและเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยนั่นแล ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อเวทนาเหล่านั้น
ไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว, กรรมฐานไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความ
เจริญรุ่งเรือง.
ข้อว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา มีความว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อ
กรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ก็ในคำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา นี้ พึง
เห็นใจความตามนัยดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฎิสัมภิทานั้นแล
อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า มุขํ มี
ความนำออกเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า สติ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ; เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า.* ในบทว่า ปริมุขํ สตึ นั้น
มีความย่อดังนี้ว่า ทำสติเป็นเครื่องนำออกที่คนกำหนดถือเอาแล้ว.

[อรรถาธิบายวิธีอบรมสติ 32 อย่าง]


ข้อว่า โส สโตว อสฺสสติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอย่างนั้น
และตั้งสติไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจเข้า ชื่อว่า
มีสติหายใจออก. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้อบรมสติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเครื่องอบรม
สติเหล่านั้นจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เป็นต้น. สมจริง
//* ขุ. ปฏิ. 31/ 2645.